รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า รถ บิ๊กไบค์ ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่บรรดาค่ายรถมอเตอร์ไซค์เริ่มนำเข้า-ผลิตจำหน่ายในประเทศไทย
ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี จนเรียกว่ามีรุ่นให้เลือกเยอะแยะมากมาย ราคาเริ่มเพียงแสนต้นๆ และมีแคมเปญสุดพิเศษอีกเพียบ บาคาร่า สูตรบาคาร่า
ก่อนอื่นคำว่ารถ “บิ๊กไบค์” นั้นหากจะกล่าวถึงในระดับสากล รถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้เรียกนี้ จะต้องมีขนาดความจุ หรือปริมาตรกระบอกสูบ 400 ซีซี ขึ้นไป
ไม่จำกัดว่าจะใช้กี่ลูกสูบ ตัวถังใหญ่หรือเล็ก ส่วนรถที่มีความจุเครื่องยนต์ต่ำกว่านั้นไม่นับเป็น “บิ๊กไบค์” แม้จะมีเครื่องยนต์ 2, 3 หรือ 4 สูบ หรือว่าขนาดตัวรถจะใหญ่แค่ไหน
อย่างไรก็ตาม มีเพียงในประเทศไทยเท่านั้นที่เรียกรถมอเตอร์ไซค์คันที่ดูใหญ่กว่ารถออโตเมติกว่า “บิ๊กไบค์” ในทันที
ซึ่งทำให้การพาดหัวในข่าวต่างๆ ดูน่าตื่นเต้น หรือหวืดหวา และก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครผิด สุดแล้วแต่ใครจะเรียกอย่างไร
มาต่อกันที่ระยะ 2 – 3 ปีให้หลังมานั้นหลายคน มักจะเริ่มเห็นข่าวคราวต่างๆ
เกี่ยวกับรถมอเตอร์ไซค์กันมากขึ้น ทั้งการเกิดอุบัติเหตุ หรือการใช้รถขับขี่ท่องเที่ยว
หรือบางครั้งนำไปกระทำผิดกฎหมาย
จนสุดท้ายรถมอเตอร์ไซค์คันใหญ่เหล่านี้ก็กลายเป็น “จำเลย” ไปในทันที
การตกเป็นจำเลยในที่นี้หมายถึง รถมอเตอร์ไซค์กลายเป็น หนึ่งในสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ มากมายในปัจจุบัน
มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากมาวิเคราะห์ดูก็จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นประกอบกันอีกมากมาย
1.ผู้ขับขี่ไม่พร้อม กรณีการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่รถขนาด 50 ซีซีขึ้นไป ย่อมต้องมีความรู้ ทักษะการควบคุมรถ การทรงตัว การตัดสินใจ และความรอบคอบสูงมากทั้งสิ้น หรือไม่ถูกฝึกอบรมก่อนการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ นับเป็นปัจจัยสำคัญ ในการใช้รถมอเตอร์ไซค์อันดับต้นๆ
2.ความเคยชิน แม้จะมีทักษะที่ดีแล้วก็ตาม การขับด้วยความเคยชิน อาจนำไปสู่ความประมาท เลินเล้อ หรือลดความระมัดระวังน้อยลงนั่นเอง
รวมถึง ไม่สวมหมวกกันน็อคเพียงแค่ “ไปใกล้ๆ แค่นี้ไม่ต้องใส่หรอก” หรือ “ใส่เฉพาะมีด่านตรวจ”
3.ความคึกคะนอง ข้อนี้รู้กันดีว่าเกิดจากความต้องการแสดงออก เพื่อตอบสนองตนเอง เช่น การยกขี่ล้อโชว์ การขี่ด้วยความเร็วสูงๆ ในสภาพถนนที่ไม่สมควรหรือรองรับ
การเข้าทางโค้งด้วยความเร็วกำหนด และสุดท้ายคือ การขับแข่งขันบนถนนหลวง สิ่งเหล่านี้มักมีผลลัพธ์ออกมาคล้ายกันคือ อาจทำให้ตนเองและผู้อื่น บาดเจ็บ เสียหายหรืออาจเสียชีวิตเลยก็ได้
4.ไม่เรียนรู้เพิ่มเติม เมื่อต้องการ “ขยับ” หรือ “อัพซีซี” ของรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นไป
หลังจากกำลังเครื่องยนต์คันเดิม “ชินมือ” ไปแล้ว แต่ลืมไปว่า
จำเป็นต้องเรียนรู้ อบรม และฝึกฝนทักษะเพิ่มตามขึ้นไปด้วย ก่อนการใช้งานจริง เพราะความแรง น้ำหนัก การควบคุมที่ต้องใช้ความสามารถเพิ่มขึ้น
ตามสมรรถนะของรถ หากขาดการฝึกฝนที่ดีพอ ก็อาจทำให้การควบคุมรถได้ไม่ดีเช่นกัน
5.ซื้อง่าย-ขายคล่อง ปัจจุบันการเลือกรถมอเตอร์ไซค์ตั้งแต่รถเล็กไปถึงรถใหญ่หรือว่าบิ๊กไบค์ สามารถซื้อกันได้ง่ายขึ้น ดาวน์ต่ำหรือฟรีดาวน์
จึงกระตุ้นความต้องการซื้อได้ง่าย ประกอบกับกฎหมายด้านการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ตามขนาดซีซีรถยังไม่เข้มงวดนัก เราจึงเห็นเด็กระดับมัธยมขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ประเภทนี้กันอย่างง่ายดาย
6.ผู้ปกครองหรือผู้สนับสนุน พ่อ-แม่หลายๆ คนซื้อรถมอเตอร์ไซค์ให้ เพราะมีความจำเป็นในการเดินทางไปเรียน ฯลฯ
ซึ่งก็ควรจำกัดขนาดของรถ ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และทักษะฝีมือการขับขี่ของเด็กควบคู่กันไป และก็มีอีกหลายๆ คนซื้อให้เพราะตามใจ โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม
7.ใจร้อน = ประมาท การขับขี่รถทุกชนิดโดยเฉพาะรถประเภท 2 ล้อ มักสะดวกและคล่องตัวจนเกิดความเคยชิน และเข้าใจว่าสามารถที่จะขี่ไปในช่องทางต่างๆ หรืออาศัยความคล่องตัว เพื่อรีบร้อนไปในสถานการณ์ที่คับขัน และอันตราย เช่น การกลับรถตัดหน้า แทรกระหว่างรถที่กำลังเลี้ยวซ้าย เป็นต้น
8.ไม่เคารพกฎจราจร ในส่วนของการขับขี่ที่ไม่เคารพกฏจราจร หรือการกระทำผิดกฎจราจร นับเป็นสาเหตุที่มาเป็นอันดับแรก เช่น การขับขี่ย้อนศร ขับขึ้นทางเท้า
การขับขี่ไปในเส้นทางหรือถนนที่ห้ามใช้ และการขับด้วยความเร็ว ที่เกินกำหนด ย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หมด
9.สภาพแวดล้อม “คุณมั่นใจได้อย่างไรว่าถนนที่ขับขี่อยู่ขณะนั้นดี”
เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพพื้นผิวถนนหนทางในประเทศไทย “แย่สุด” ทั้งลื่น ทั้งมีหลุมบ่อ คอสะพานอันตราย ทางโค้งที่มองไม่เห็นข้างหน้า เป็นต้น
นับเป็นความเสี่ยงมากสำหรับสิงนักบิด นอกจากนี้ยังมีสภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจอีก แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสามารถขับขี่ด้วยเร็วระดับนั้นในถนนที่มีสภาพแบบนี้!
10.เราไม่ชนเขา-แต่เขามาชนเรา สุดท้ายไม่ว่าผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์จะผ่านการอบรมระดับสูงแค่ไหน หรือจะเป็นถึงนักแข่งในสนามระดับโลกก็ต้องให้ความระมัดระวังผู้ใช้รถใช้ถนนผู้อื่นด้วย
เพราะไม่สามารถกำหนดนิสัยใจคอของผู้ขับขี่คนอื่นๆ ได้ แม้เราขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพียงใด แต่หากมีผู้ขับขี่ประมาท เช่น ฝ่าไฟแดง หรือเกิดโรคประจำตัวขณะขับรถ ย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งนั้น
เหตุการณ์หลายครั้งของรถมอเตอร์ไซค์ที่การเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะบิ๊กไบค์หรือรถเล็ก มักมีสาเหตุมาจากหลายสิ่ง ตั้งแต่ผู้ขับขี่หรือควบคุมรถ สภาพถนน รถที่ร่วมทางด้วยกัน
แต่สุดท้ายก็ยังมีหนึ่งปัจจัยที่สามารถควบคุมมันได้นั่นคือ ผู้ขับรถนั่นเองที่จะสั่งการไปที่คันเร่งว่าจะบิดมาก-น้อยแค่ไหนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใด
ยิ่งขับขี่ช้าลงก็จะยิ่งบาดเจ็บน้อยลง หรืออาจช่วยให้ผ่านเหตุการณ์คับขันไปได้อย่างปลอดภัย
“รถมันวิ่งเองไม่ได้ ต้องมีผู้ควบคุม” ดังนั้นรถมอเตอร์ไซค์หรือว่า “รถบิ๊กไบค์” ไม่ใช่จำเลยเป็นแค่เครื่องจักรชนิดหนึ่งที่วิ่งได้โดยมนุษย์เท่านั้นครับ
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : checkraka
ที่มา : pgslot , PG SLOT , PGSLOTGAME